ผู้รู้ สวล.ชี้เอเชียท่วมหนักต้องเน้นระบบนิเวศ

การ ตัดไม้ทำลายป่าเป็นวงกว้าง การเปลี่ยนพื้นที่ป่าชายเลนให้เป็นเกษตรกรรม หรือการขยายพื้นที่ชุมชนและกองขยะที่ทับถมขวางระบบระบายน้ำทางธรรมชาติล้วน เป็นองค์ประกอบให้เกิดอุทกภัยครั้งรุนแรง…..

สภาพ อากาศที่เปลี่ยน แปลงอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมหนักทั่วเอเชีย แต่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมกลับมองว่าการทำลายระบบนิเวศทาง ธรรมชาติโดยฝีมือมนุษย์น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมมรณะอย่างรุนแรง ทั้งการตัดไม้ทำลายป่าเป็นวงกว้าง การเปลี่ยนพื้นที่ป่าชายเลนให้เป็นเกษตรกรรม หรือการขยายพื้นที่ชุมชนและกองขยะที่ทับถมขวางระบบระบายน้ำทางธรรมชาติล้วน เป็นองค์ประกอบให้เกิดอุทกภัยครั้งรุนแรง

นาย กาเนช แพนแกร์ ฝ่ายประสานงานผืนป่าชายเลนกับน้ำประจำกรุงเทพฯ โดยสหภาพอนุรักษ์ ธรรมชาติระหว่างประเทศเผยว่า ควรมีระบบการจัดการที่ดีต่อการปกป้องโครงสร้างภายในของธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเชีย ซึ่งการสร้างกำแพงคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมไม่ใช่คำตอบของปัญหา วิธีที่ถูกต้องคือลงทุนเรื่องโครงสร้างภายในธรรมชาติให้เข้มแข้งทั้งป่า แม่น้ำ ทะเลสาบ และป่าชายเลน

ส่วน นายเรด คอนสแตนติโน หัวหน้าสถาบันด้านสภาพอากาศและการพัฒนาหัวเมืองอย่างยั่งยืน ประจำกรุงมะนิลา เผยว่า ภาวะโลกร้อนกลายเป็นช่องทางของระดับผู้นำประเทศที่มักกล่าวโทษเวลาเกิดเหตุ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งที่เกิดจากการบริหารจัดการของเสีย ที่ดิน และขยายพื้นที่ชุมชนล้มเหลว นอกจากนี้ นายบรูซ ดันน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ประจำธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย อ้างถึงการศึกษาค้นคว้าของมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ ดาร์วิน ในออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยธรรมชาติแห่งสิงคโปร์ว่า ผืนป่าที่ลดลง 10% จะทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยขึ้นราว 8-28%

ขณะ เดียวกัน หน่วยกู้ภัยอินเดียยุติการค้นหาผู้รอดชีวิต หลังกู้ศพเด็กอายุ 5-12 ขวบที่เสียชีวิตทั้ง 18 ศพ ช่วยชีวิตได้ 4 ราย จากเหตุอาคารโรงเรียนถล่มในเขตห่างไกลความเจริญบาเจชวาร์ แคว้นลาดักห์ ทางตอนเหนือของประเทศ เพราะมรสุมเข้าจนฝนเทกระหน่ำ ขณะที่เหตุพายุถล่มทั่วประเทศแอลจีเรีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 5 ศพ ถนนสายสำคัญถูกตัดขาด น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างหลังทิ้งช่วงนาน

ส่วน ภัยดินถล่มที่เขตชุมชนผูล่าตี้ มณฑลยูน-นาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ขณะชาวบ้านยังนอนหลับช่วงเช้าวันที่ 18 ส.ค. เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 14 ศพ สูญหายจำนวนหนึ่ง บ้านเรือน 21 หลังถูกฝังจมดิน การค้นหาผู้รอดชีวิตก็เริ่มริบหรี่ เพราะพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาและสภาพก็เต็มไปด้วยโคลนดินและหินที่ตก หล่นลงมาทับกินพื้นที่ราว 300 ม. แล้วเกิดเหตุขบวนรถไฟ 2 ตู้ตกรางพุ่งลงแม่น้ำที่เมืองกวงฮัน มณฑลเสฉวน หลังน้ำท่วมซัดสะพานพัง ขณะออกจากสถานีซีอาน เมืองเอกมณฑลชานซี ไปยังเมืองคุนหมิง เมืองเอกมณฑลยูนนาน เบื้องต้นยังไม่ทราบจำนวนผู้โดยสารที่ชัดเจนนอกจากผู้โดยสารอีก 5 ขบวนปลอดภัยดี.

 

ที่มา www.thairath.co.th วันที่ 20 ส.ค. 2553